วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ขอคิดเห็นเพิ่มเติม

    จากที่เธอได้เรียนวิชาการจัดการชั้นเรียนโดยใช้WeblogหรือฺBlog ผู้เรียนเห็นว่าการใช้งานนี้มีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไร


การใช้งานมีจุดเด่นที่เราสามารถนำข่าวสารต่างๆที่จะสื่อสารให้กับบุคลอืนๆได้ทราบ เป้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เข้ากับการเรียนการสอนที่จะเกิดขึ้น มีการเรียนรู้ที่หลากหลาย
 จุดอ่อน คือ ผุ้เรียนจะต้องมีคอมพิวเตอร์ และระบบอินเตอร์เน๊ตที่ดี

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่ ๙

การจัดชั้นเรียนที่ดี
ลักษณะของชั้นเรียนที่ดี
เพื่อให้การจัดชั้นเรียนที่ถูกต้องตามหลักการ ผู้สอนควรได้ทราบถึงลักษณะของชั้นเรียนที่ดี สรุปได้ดังนี้
1. ชั้นเรียนที่ดีควรมีสีสันที่น่าดู สบายตา อากาศถ่ายเทได้ดี ถูกสุขลักษณะ
2. จัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่ที่อยู่ในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน และกิจกรรมประเภทต่างๆ
3. ให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข มีอิสรเสรีภาพ และมีวินัยในการดูแลตนเอง
4. ใช้ประโยชน์ชั้นเรียนให้คุ้มค่า ครูอาจดัดแปลงให้เป็นห้องประชุม ห้องฉายภาพยนตร์และอื่น ๆ
5. จัดเตรียมชั้นเรียนให้มีความพร้อมต่อการสอนในแต่ละครั้ง เช่น การทำงานกลุ่ม การสาธิตการแสดงบทบาทสมมุติ
6. สร้างบรรยากาศให้อบอุ่น ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียน
รูปแบบการจัดชั้นเรียน
การจัดชั้นเรียนจัดได้หลายรูปแบบ โดยจัดให้เหมาะสมกับบทเรียน กิจกรรมการเรียนการสอน จำนวนนักเรียน สภาพแวดล้อมในชั้นเรียน ขนาดของห้องเรียน เป็นต้น ครูควรได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบของการจัดโต๊ะ เก้าอี้ มุมวิชาการ และมุมต่าง ๆ ในห้องเรียน เพื่อสร้างบรรยากาศของห้องเรียนให้น่าสนใจไม่ซ้ำซากจำเจ ไม่น่าเบื่อหน่าย นักเรียนจะเกิดความกระตือรือร้นและกระฉับกระเฉงในการเรียนดีขึ้น การจัดชั้นเรียนถ้าแบ่งตามวิธีการสอนจะได้ 2 แบบ คือ
1. ชั้นเรียนแบบธรรมดา
2. ชั้นเรียนแบบนวัตกรรม
1. ชั้นเรียนแบบธรรมดา
ชั้นเรียนแบบธรรมดาเป็นชั้นเรียนที่มีครูเป็นศูนย์กลาง เป็นผู้นำการเรียนรู้ โดยมีผู้เรียนเป็นผู้รับความรู้จากครู การจัดชั้นเรียนแบบนี้จะมีโต๊ะครูอยู่หน้าชั้นเรียน และมีโต๊ะเรียนวางเรียงกันเป็นแถว โดยหันหน้าเข้าหาครูแสดงดังรูป
1.1 ลักษณะการจัดชั้นเรียน การจัดชั้นเรียนแบบธรรมดานี้ โต๊ะเรียนของนักเรียน อาจเป็นโต๊ะเดี่ยวหรือโต๊ะคู่ก็ได้ ผนังห้องเรียนอาจจะมีกระดานป้ายนิเทศ หรือสื่อการสอน เช่น แผนภูมิ รูปภาพ แผนที่ติดไว้ ซึ่งสื่อการสอนเหล่านี้จะไม่เปลี่ยนบ่อยนัก การตกแต่งผนังห้องเรียนจะแตกต่างกันออกไปตามแต่สถานที่ตั้งของโรงเรียน โรงเรียนที่อยู่ในตัวเมืองอาจจะมีการตกแต่ง มากกว่าโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลออกไปตมชนบท เพราะหาสื่อการสอนได้ยากกว่า บางห้องเรียนอาจจะมีมุมความสนใจ แต่ก็ไม่ได้ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอน
1.2 บทบาทของครูและนักเรียน บทบาทของครูและนักเรียนในชั้นเรียนแบบธรรมดานี้ ครูจะเป็นผู้รอบรู้ในด้านต่างๆ ใช้วิธีการสอนแบบป้อนความรู้ให้แก่นักเรียนโดยการบรรยาย และอธิบายให้นักเรียนฝังอยู่ตลอดเวลา ครูจะเป็นผู้แสดงกิจกรรมต่างๆ เอง แม้กระทั่งการทดลองอย่างง่ายๆ ไม่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ยิบจับ หรือแตะต้องสื่อการสอนที่ครูนำมาแสดง นักเรียนจึงต้องฟังครู มีมีโอกาสได้พูด หรือทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อค้นหาคำตอบใดๆ สื่อการสอนที่ใช้ส่วนมาก ได้แก่ ชอล์ก กระดานดำ และแบบเรียน
การจัดชั้นเรียนแบบนี้ไม่เอื้อต่อการสอนตามหลักสูตรใหม่ นักการศึกษาจึงไม่แนะนำให้ใช้มากนัก อาจใช้ได้เป็นบางครั้งเท่านั้นถ้าจำเป็นต่อวิธีการสอนวิธีใดวิธีหนึ่ง แต่ไม่ควรยึดถือเป็นแบบอย่างตลอดไป
2. ชั้นเรียนแบบนวัตกรรม
ชั้นเรียนแบบนวัตกรรม เป็นชั้นเรียนที่เอื้ออำนวยต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิควิธีสอนใหม่ๆ เช่น การเรียนรู้แบบร่วมมือ แบบโฟร์แมท แบบสตอรี่ไลน์ แบบโครงงาน เป็นต้น ซึ่งนักเรียนจะมีอิสระในการเรียน อาจเรียนเป็นกลุ่ม หรือเป็นรายบุคคล โดยมีครูเป็นผู้ให้คำปรึกษา การจัดชั้นเรียนจึงมีรูปแบบการจัดโต๊ะเก้าอี้ในลักษณะต่างๆ ไม่จำเป็นต้องเรียงแถวหันหน้าเข้าหาครู เช่น จัดเป็นรูปตัวที ตัวยู วงกลม หรือจักเป็นกลุ่ม
2.1 ลักษณะการจัดชั้นเรียน การจัดชั้นเรียนแบบนวัตกรรมนี้ โต๊ะครูไม่จำเป็นต้องอยู่หน้าชั้น อาจเคลื่อนย้ายไปตามมุมต่างๆ การจัดโต๊ะนักเรียนจะเปลี่ยนรูปแบบไปตามลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู ส่วนใหญ่นิยมจัดโต๊ะเป็นกลุ่ม เพื่อให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน มีการจัดศูนย์สนใจ มีสื่อการสอนในรูปของชุดการสอน หรือเครื่องช่วยสอนต่างๆ ไว้ให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง หรือศึกษาร่วมกับเพื่อน มีการตกแต่งผนังห้องและเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับเรื่องที่นักเรียนกำลังเรียน
2.2 บทบาทของครูและนักเรียน การจัดชั้นเรียนแบบนี้ครูจะเป็นผู้กำกับและแนะแนวนักเรียนเป็นผู้แสดงบทบาท ครูจะพูดน้อยลง ให้นักเรียนได้คิด ได้ถาม ได้แก้ปัญหา และได้ทำกิจกรรมด้วยตนเอง นักเรียนอาจจะเรียนด้วยตนเองจากสื่อประสม เช่น บทเรียนแบบโปรแกรม ชุดการสอน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ครูจะเป็นผู้ให้คำแนะนำ และช่วยเหลือเมื่อจำเป็น ดังนั้น การจัดชั้นเรียนแบบนี้จึงเป็นการจัดชั้นเรียนที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหลักสูตรที่ต้องการให้ผู้เรียนได้คิดค้นคว้า วิเคราะห์วิจารณ์ และลงมือปฏิบัติจริงทุกขั้นตอน จนสามารถเรียนรู้ได้ตนเอง
กล่าวโดยสรุป ในการจัดชั้นเรียน ผู้สอนสามารถจัดได้ 2 แบบ ทั้งแบบธรรมดาและแบบนวัตกรรม แต่เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหลักสูตร การจัดชั้นเรียนแบบนวัตกรรมจะเป็นแบบที่เหมาะสม เพราะสะดวกแก่การที่ผู้เรียนจะค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง สะดวกแก่การทำงานกลุ่มกับเพื่อน สะดวกแก่การทดลองหรือทำกิจกรรมต่างๆ ผู้สอนจึงควรจัดชั้นเรียนแบบนวัตกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอน

ข้อสอบ :ทดลองวิจัยใช้Weblog

ให้นักเรียนตอบข้อสอบลงในWeblog ของนักเรียนแต่ละคน
คำสั่ง ให้นักเรียนทำข้อสอบโดยการแสดงความคิดเห็นสะท้อนข้อคิดพร้อมยกตัวอย่างประกอบในการแสดงความคิดเห็นให้เป็นเหตุเป็นผลของผู้เรียน อาจารย์จะอ่านข้อคิดเห็นที่เป็นเหตุเป็นผลต่อกัน เขียนในWeblog ให้ชวนอ่าน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ข้อที่ 1 กรณีที่เกิดความวุ่ยวายของบ้านเมืองโดยเฉพาะผู้นำประเทศที่ผ่านมา ท่านในฐานะเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะแสดงความคิดเห็น อดีตนายกทักษิณ ทั้งข้อดีและข้อเสียของท่าน หากพิจารณาข้อดีและข้อเสียท่านจะนำมาสอนให้ผู้เรียนเกิดความคิดที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร

ข้อดี
1.อดีตนายกทักษิณมีแนวคิดที่ดี และการแก้ไขปัญหาที่ตรงประเด็น
2.มีวิสัยทัศน์ในการทำงาน
3.ความกล้าที่จะตัดสินใจ
ข้อเสีย
1.การคดโกงในเรื่องโครงการ
2.การทำงานที่ไม่เป็นระบบ

ข้อที่ 2 การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่จะให้มีประสิทธิภาพท่านจะมีวิธีคิดอย่างไรหากท่านเป็นครูที่ดีควรเตรียมการเป็นที่ครูที่ดีอย่างไรให้ท่านแสดงความคิดเห็นของท่านเอง

สิ่งแรกคือครูจะต้องศึกษาหลักสูตร วิเคราะห์หลักสูตร กำหนดเนื้อหาสาระ กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จุดประสงค์การเรียนรู้ปลายทางและนำทางศึกษาหลักการ ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ จิตวิทยาศาสตร์ กระบวนการวัดและประเมินผล
พัฒนาเทคนิคการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ โดยเน้นกระบวนการให้ชื่อว่าเทคนิคการเรียนรู้แบบ จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบกงล้อกงหัน มี 7 ขั้นตอนดังนี้



ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

ขั้นเพียรศึกษาค้นคว้า

ขั้นพัฒนาความรู้และฝึกประสบการณ์

ขั้นสร้างสรรค์องค์ความรู้

ขั้นมุ่งสู่การประเมินผล

ขั้นแยบยลผลสรุป

ขั้นสุดท้ายนำไปใช้ มีการสอดแทรกกิจกรรมฝึกทักษะพื้นฐานการวิจัย และมีรายละเอียดการบูรณาการ สาระการเรียนรู้ทั้งในกลุ่มสาระเดียวกัน และต่างกลุ่มสาระ
เตรียมสื่อประกอบการจัดการเรียนรู้ เช่น ตัวอย่างของจริง ใบความรู้ ชุดฝึกทักษะ กระบวนการคิด การปฏิบัติและการแก้ปัญหา ใบงาน แถบบันทึกเสียง แผ่นโปร่งใส ฯลฯเตรียมเครื่องมือวัดและประเมินผล เช่น แบบทดสอบ แบบประเมินชิ้นงาน แบบประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์ แบบประเมินตนเองเกี่ยวกับการเรียนรู้ แบบประเมินกลุ่มเกี่ยวกับการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ แบบประเมินทักษะการทดลอง ฯลฯ

ขั้นที่สองครูจะเตรียมผู้เรียนให้พร้อมในเรื่อง
ชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้
จุดประกายการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมที่เร้าความสนใจ การระดมความคิด กิจกรรมละลายพฤติกรรม ฯลฯ
แล้วครูจะจัดเตรียมการเรียนการสอนอย่างไร

การจัดกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบ กงล้อกงหันที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญดังนี้


ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ขั้นเพียรศึกษาค้นคว้า
ขั้นพัฒนาความรู้และฝึกประสบการณ์
ขั้นสร้างสรรค์ความรู้
ขั้นมุ่งสู่การประเมินผล
ขั้นแยบยลผลสรุป
ขั้นสุดท้ายนำไปใช้
เป็นการเร้าความสนใจของผู้เรียนก่อนการเรียนรู้ ในการนำเข้าสู่บทเรียน อาจจะนำโดยครูผู้สอน ครูและนักเรียน หรือนักเรียนเป็นผู้นำเข้าสู่บทเรียนลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หรือหลายลักษณะก็ได้ โดยใช้แถบบันทึกเสียง ภาพ ข่าว หนังสือพิมพ์ เกม เพลง ดูวีดีทัศน์หรืออาจจะเป็นการทบทวนความรู้เดิม รูปภาพ คำถาม หรือกิจกรรมอื่น เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้


เป็นขั้นที่ให้ความรู้ใหม่ ที่เชื่อมโยงกับขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เป็นขั้นที่ผู้สอนต้องใช้นวัตกรรมให้เกิดการเรียนรู้ความรู้ใหม่ โดยการใช้ใยความรู้ ใบงาน เอกสารประกอบการเรียน ชุดการเรียน ศูนย์การเรียน วีดีทัศน์ ฝึกทักษะพื้นฐานการวิจัยตั้งแต่การระบุปัญหา การตั้งสมมติฐาน การพิสูจน์ ทดสอบ ทดลอง รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผล


เป็นการฝึกระหว่างสอนในเรื่องที่ได้ศึกษาในขั้นที่ 2 เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ฝึกฝนกระบวนการคิดการแก้ปัญหา โดยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกลุ่ม ได้เรียนรู้จากกัน แลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ความคิดและประสบการณ์แก่กันและกันให้มากที่สุด เป็นการพัฒนาความรู้ความคิดของผู้เรียนให้เกิดแบบยั่งยืน


เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกความคิดรวบยอดในเรื่องที่ได้ศึกษามา โดยการเขียนเป็นข้อสรุปที่เข้าใจง่าย เช่น การเขียนแบบแผนที่ความคิด (Mind Mapping) การเขียนแบบมโนมิติ หรือเขียนสรุปใจความสั้นๆ


เป็นการประเมินระหว่างสอนตามลำดับความยากง่ายของเนื้อหา เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ในเนื้อหานั้นๆ อาจทำได้โดยให้ผู้เรียนตอบคำถามเล่าเรื่องนำเสนอในสิ่งที่สร้างสรรค์ไว้ ในขั้นที่ 4 หรือบันทึกผลการทดลอง หรือใช้วิธีใดวิธีหนึ่งตามความเหมาะสมหรืออาจจะผลตามสภาพจริง (ตนเองประเมิน เพื่อนประเมิน และครูประเมิน)


เป็นการสรุปเนื้อหาความรู้ใหม่ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ อาจจะสรุปโดยผู้เรียนหรือครูผู้สอนหรือครูผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุป อาจจะใช้สื่อช่วยในการสรุป เช่น ใช้ในสรุปเนื้อหา ใช้วีดีทัศน์หรือรูปภาพประกอบการสรุป


เป็นขั้นที่ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ในแหล่งชุมชน การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ทำงานหรือเตรียมบทเรียนต่อไป หรือการประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

ข้อที่ 3 ในฐานะท่านเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะนำนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนมาใช้การเรียนการสอนแบบใหม่ได้อย่างไร
จากการที่กระผมได้เรียนการทำ Webbolg จากอาจารย์ อภิชาติ วัชรพันธุ์ กระผมมีแนวคิดว่าการนันวัตกรรมดังกล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนและเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สามารถนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนอย่างหนึ่งทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และได้พัฒนาทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์ สร้างความกระตือรือร้นในการเรียน และดึงดูดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเป็นช่องทางในการเรียนรู้เพิ่มเติมจากอินเตอร์เน๊ตได้อย่างเหมาะสม เป็นการเปิดโลกทัศน์ที่กว้างมากยิ่งขึ้น โดยการให้ใบงานและให้นักเรียนได้ศึกษาและสรุปงานส่งทางใบงานในเว็บบล็อก
เพราะฉะนั้นการนำนวัตกรรมใหม่มาจัดการเรียนการสอนจะทำให้เกิดพัฒนาการทั้งด้านผู้สอนและผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ได้ย่างเหมาะสม

ข้อที่ 4 การประกันคุณภาพมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการในชั้นเรียนได้อย่างไร

มีความสำคัญมากต่อการจัดการในชั้นเรียนเพราะว่าการบริหารจัดการชั้นเรียนและการเรียนการสอนเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน การบริหารจัดการชั้นเรียนไม่ใช่จุดหมายปลายทางแต่เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของบทบาทความเป็นผู้นำของครู การบริหารจัดการชั้นเรียนไม่สามารถแยกจากหน้าที่การสอน เมื่อการวางแผนการสอนก็คือ การที่ครูกำลังวางแผนการบริหารจัดการชั้นเรียนให้เกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้เป็นไปไม่ได้ที่จะแยกการบริหารจัดการชั้นเรียนกับการทำหน้าที่การจัดการเรียนการสอน รูปแบบการสอนหรือกลยุทธ์ที่ครูเลือกใช้แต่ละรูปแบบก็มีระบบการบริหารจัดการของมันเอง และมีภารกิจเฉพาะของรูปแบบหรือกลยุทธ์นั้น ๆ ที่จะอิทธิพลต่อพฤติกรรมทั้งของครูและนักเรียน เช่น ถ้าครูจะบรรยายก็จำเป็นที่นักเรียนจะต้องมีความตั้งใจฟัง ถ้าจะให้นักเรียนทำงานกลุ่ม วิธีการก็จะแตกต่างจากการทำงานโดยลำพังของแต่ละคนอย่างน้อยที่สุดก็คือการนั่ง ดังนั้นภารกิจการสอนจึงเกี่ยวข้องทั้งปัญหาการจัดลำดับวิธีการสอน ปัญหาของการจัดการในชั้นเรียนปัญหาการจัดนักเรียนให้ปฏิบัติตามกิจกรรม ครูที่วางแผนการบริหารจัดการชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสม ทั้งกิจกรรมการเรียนการสอนและภารกิจ ก็คือ การที่ครูใช้การตัดสินใจอย่างฉลาดทั้งเวลา บรรยากาศทางกายภาพ และจิตวิทยา ซึ่งจะทำให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้และลดปัญหาด้านวินัยของนักเรียนด้วยการที่สามารถจะบริหาร การจัดชั้นเรียนทั้งด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การบริหารจัดการบรรยากาศในห้องเรียน การดูแลพฤติกรรมด้านวินัยให้เกิดการร่วมมือในการเรียนจนเกิดการเรียนรู้ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ระบบการเรียนการสอนให้เด็กมีความรู้เจตคติ ทักษะด้าน 8 กลุ่มสาระ แต่ว่าระบบนี้ระบบเดียวไม่เพียงพอที่ทำให้เรามีคุณภาพตาม 11 มาตรฐาน ต้องอาศัยอีก 2 ระบบสำคัญ ระบบหนึ่งที่ตอบสนองความแตกต่างของเด็กแต่ละคนที่มีความประพฤติ และมีรากฐานครอบครัวที่แตกต่างกัน ตรงนี้โรงเรียนมีระบบอันหนึ่ง คือ ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่จะรู้จักเด็กเป็นรายบุคคลและให้การช่วยเหลือและพัฒนาเด็กไปตามความต้องการของเด็กแต่ละบุคคลโดยครูที่ปรึกษา ถ้ามีปัญหาจะส่งต่อครูปกครอง ครูแนะแนว นี่ถือว่าเป็นระบบใหญ่ที่สำคัญและถือว่าเป็นระบบหลักระบบที่สอง

ระบบที่ 3 คือ ระบบที่ตอบสนองต่อ Multiple intelligence (พหุปัญญา) คือ เด็กแต่ละคนมีความสามารถที่หลากหลาย ย่อมไม่สามารถที่จะตอบสนองได้โดยการเรียนการสอนใน 8 กลุ่มสาระเท่านั้น เพราะฉะนั้นระบบกิจกรรมนักเรียนจะตอบสนองให้นักเรียนพัฒนาพหุปัญญาได้ไปตามความสนใจของแต่ละคน รวมทั้งตอบสนองความต้องการของชุมชน ในชนบทที่.งไกล หลายแห่ง โรงเรียนไม่ใช่แหล่งที่จะหมายถึง แหล่งที่ให้การศึกษาต่อในขั้นที่สูงขึ้นเท่านั้น แต่อาจจะเป็นสถาบันที่ดำรงรักษาวัฒนธรรมและความอยู่รอดของชุมชนด้วย เพราะฉะนั้นระบบกิจกรรมจะต้องตอบสนองตามความสนใจที่หลากหลายของนักเรียนตลอดจนความต้องการของชุมชน
ส่วนระบบสนับสนุนนั้นจะเห็นว่าจะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ หนึ่งทิศทางองค์กร สองการบริหารจัดการทั่วไป สามเป็นระบบที่เชื่อมโยงโรงเรียนทุกระบบเข้าด้วยกัน

ส่วนที่ 1 ประกอบด้วยการนำองค์กรและยุทธศาสตร์องค์กร โรงเรียนหลายโรงเรียนที่ทำโครงการแล้วอาจไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เริ่มต้นอาจจะเกิดปัญหา คือ การนำของผู้อำนวยการ และผู้บริหารโรงเรียน แล้วยุทธศาสตร์โรงเรียนไม่มีความมั่นคงเพียงพอจะทำให้โรงเรียนเกิดการพัฒนาคุณภาพได้

ส่วนที่ 2 การบริหารจัดการนำไปซึ่งแบ่งเป็น 4 ระบบย่อย คือ 1) คือระบบบริหารจัดการคือ ดูแลเรื่องเงิน คน ของ สถานที่ และสื่อ 2) ระบบการดูแลคุณธรรมจริยธรรมวิชาชีพ การศึกษานั้นเป็นผลิตสิ่งที่สำคัญ คือ มนุษย์ให้เขาเป็นบุคคลที่มีคุณค่าแก่สังคมเรื่องนี้ต้องมีระบบในการให้ผู้ที่ทำการบริหารและทำการจัดการเรียนการสอนคงไว้ซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมแห่งวิชาชีพให้เต็มที่ เช่นเดียวกับวิชาชีพอื่นๆ เช่น แพทย์ เป็นต้น 3) เราต้องมีระบบการพัฒนาบุคลากร เนื่องจากโรงเรียนอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะฉะนั้นการพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพจะทำให้ ระบบประสบความสำเร็จได้ 4) ระบบชุมชนสัมพันธ์ที่จะให้โรงเรียนสามารถดึงความร่วมมือผู้ปกครองชุมชนตลอดจนศิษย์เก่าได้

ส่วนที่ 3 ของระบบ คือ ระบบสารสนเทศ เป็นระบบที่จะเชื่อมโยงทุกระบบเข้าด้วยกันว่าเราอยู่ตรงไหนของการพัฒนา ปัญหาเราคืออะไร และเราจะพัฒนาอะไรต่อไป โรงเรียนมีระบบสารสนเทศที่ดีจะมีคำตอบเหล่านี้อยู่ในโรงเรียน
เราเคยมีโรงเรียนชั้นนำของมัธยมศึกษาเกิดปัญหาเด็กฆ่าตัวตาย เด็กทำร้ายกันเอง สะท้อนให้เห็นว่า แม้โรงเรียนนั้นจะมีการเรียนการสอนที่มีคุณภาพแต่มีจุดอ่อนที่ระบบดูแลช่วยเหลือเด็ก จะเห็นได้ว่าถ้าระบบใดระบบหนึ่งมีจุดอ่อนจะเกิดปัญหาได้ ถ้าระบบการเรียนการสอนดี ระบบช่วยเหลือนักเรียนดี แต่ไม่มีระบบกิจกรรมนักเรียนที่ดีพอเด็กกลับบ้านเลิกเรียน 3 โมงครึ่ง นักเรียนกลับบ้านอย่างเดียวแทนที่จะให้เด็กใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ที่จะได้ทำตามกิจกรรมตามความสนใจของตนเองเด็กจำนวนมากก็แทนที่จะกลับบ้านก็ไปศูนย์การค้าดูหนังเล่นเกม ไปอยู่ในสถานที่ที่ไม่เหมาะสมหรือขาดโอกาสในการพัฒนาพหุปัญญาขึ้นมา เพราะฉะนั้นต้องใช้ระบบกิจกรรมที่แข็งด้วย

เพราะฉะนั้นแนวคิดเชิงระบบกล่าวในที่นี้แปลว่า โรงเรียนที่มีคุณภาพต้องดีทุกระบบ อันนี้กลับมาตอบข้อสงสัยของหลายท่านว่า ทำไมการประเมินเพื่อรองรับจึงเป็น All all non ก็คือ ท่านจะต้องผ่านทุกๆ มาตรฐานของแต่ละระบบคุณภาพ ไม่มียกเว้นเพราะแนวคิดเชิงระบบนั้น ถ้าระบบใดระบบหนึ่งมีปัญหาอาจจะส่งผลให้ระบบและคุณภาพของโรงเรียนนั้นเกิดปัญหาได้

ข้อที่ 5 ให้ผู้เรียนประเมินผู้สอนทั้งข้อดีข้อเสียและข้อเสนอแนะเพื่อที่จะนำไปปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป
การประเมิณผู้สอน : อาจารย์อภิชาต วัชรพันธุ์
คะแนนเต็ม 10 ได้ 9 เนื่องจาก ผู้สอนได้นำการเรียนรู้แบบใหม่ให้กับนักศึกษา ที่เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพในการเรียนการสอนและส่งผลดีต่อการเรียรู้ ผู้เรียนได้อย่างดีเยี่ยม แต่ยังมีส่วนที่ต้องปรับปรุงอีกเล็กน้อยคือ การใช้ระบบอินเตร์เน๊ตและปัญหาที่ผู้เรียนบ้างคนยังขาดสื่อในการเรียนรู้

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่ ๘

สรุปความรู้จากกลุ่มที่ 9
การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ-สารสนเทศ (Information) หมายถึงกลุ่มข้อมูลที่ถูกจัดการตามกฎหรือ ถูกกำหนดความสัมพันธ์ให้ เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นเกิดประโยชน์หรือมีความหมายเพิ่มมากขึ้น-ขบวนการ (Process) หมายถึงการแปลงข้อมูลให้เปลี่ยนเป็นสารสนเทศหรือกล่าวได้ว่า ขบวนการคือกลุ่มของงานที่สัมพันธ์กัน เพื่อทำให้เกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการ-การจัดการ (Management) หมายถึงการบริหารอย่างมีระบบ ซึ่งประกอบด้วยการกำหนดเป้าหมายและ ทิศทางขององค์กรและการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น ซึ่งจะต้องมีการวางแผน การจัดการ การกำหนดทิศทางและการควบคุมเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม-ความหมายและบทบาทของระบบสารสนเทศระบบสารสนเทศ (Information System หรือ IS) คือระบบแบบเฉพาะเจาะจงชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นกลุ่มของส่วนประกอบพื้นฐานต่างๆ ที่ทำงานเกี่ยวข้องกันในการเก็บ (นำเข้า), จัดการ (ประมวลผล) และเผยแพร่(แสดงผล) ข้อมูลและสารสนเทศและสนับสนุนกลไกลของผลสะท้อนกลับ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์-วงจรการพัฒนาระบบขบวนการในการพัฒนาระบบเรียกว่าวงจรชีวิตในการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC) โดยแต่ละระบบที่กำลังจะถูกสร้างขึ้นจะเริ่มขบวนการในการสร้างไปจนกระทั่งถึงกำหนดที่วางไว้และขั้นตอน สุดท้ายคือการติดตั้งระบบและเกิดการยอมรับระบบ ชีวิตของระบบยังรวมไปถึงขั้นตอนในการดูแลรักษาและการทดลองใช้ด้วย ถ้าระบบจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงภายใต้ข้อกำหนดของการดูแลรักษา ถ้าระบบเก่าจำเป็นต้องถูกแทนที่เนื่องจากมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้น หรือถ้าองค์กรมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนระบบ โครงงานใหม่และวงจรชีวิตของระบบก็จะเริ่มต้นขึ้น วงจรชีวิตของการพัฒนาระบบมักจะแบ่งออกเป็น 5 ระยะได้แก่ การศึกษาระบบ, การวิเคราะห์ระบบ, การ ออกแบบระบบ, การนำระบบไปใช้งาน และการดูแลรักษาระบบ ซึ่งแสดงวงจรชีวิตของการพัฒนาระบบที่เริ่มจากระยะที่หนึ่ง ไปจนกระทั่งถึงระยะสุดท้าย โดยในแต่ละระยะสามารถกลับมาเริ่มต้นทำระยะก่อนหน้าได้เสมอหากมีส่วนที่ต้องการแก้ไขเพิ่มเติม หรือปรับปรุง ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเป็นการรวมกลุ่มของฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์, คน, ขบวนการ, ฐานข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อการจัดการกับข้อมูลและสารสนเทศช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายได้ โดยระบบสารสนเทศเพื่อการ จัดการจะช่วยให้ผู้จัดการมองเห็นภาพรวมของการปฏิบัติงานขององค์กร ทำให้สามารถควบคุมจัดการและวางแผน การปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ระบบสารสนเทศขององค์กร อาจประกอบด้วยระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านต่างๆ ในองค์กร เช่น ด้านการเงิน, การตลาด, การผลิตฯลฯ โดยแต่ละระบบต้องการข้อมูลเข้าที่แตกต่างกัน ประกอบด้วยระบบย่อยๆ ที่สนับสนุนการทำงานด้านนั้นๆ ที่แตกต่างกันและยังให้ผลลัพธ์ของระบบที่แตกต่างกันอีกด้วย ส่วนขั้นตอนของการพัฒนาระบบสารสนเทศ แต่ละระบบจะเป็นไปตามวงจรชีวิตของการพัฒนาระบบ โดยจะเริ่มที่การศึกษาระบบเพื่อค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้น
การวิเคราะห์ระบบ เพื่อเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและสิ่งที่ต้องพัฒนา, การออกแบบระบบ ซึ่งแบ่งออกเป็นการออกแบบเชิงตรรกะและการออกแบบทางกายภาพ เพื่อกำหนดวิธีการในการพัฒนาระบบ, การนำไปใช้ ได้แก่การพัฒนาระบบตามที่ได้ออกแบบไว้และนำระบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้และขั้นสุดท้ายเป็นการดูแลรักษา เพื่อตรวจสอบและแก้ไขระบบ เมื่อมีข้อผิดพลาดหรือมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้น
สรุปความรู้จากกลุ่มที่ 10
การเขียนโครงการและการบริหารจัดการโครงการเพื่อพัฒนานักเรียนและสถานศึกษาโครงการ คือเค้าโครงของกิจกรรมที่กำหนดไว้เพื่อพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาตามความต้องการของหน่วยงาน มีลักษณะเป็นแนวทางการดำเนินงานที่บอกถึงความเป็นมา วิธีหรือขั้นตอนการดำเนินงาน ทรัพยากรที่จะใช้ รวมถึงผลสำเร็จที่ต้องการให้เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้มีอำนาจอนุมัติ ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมองเห็นภาพตลอดแนวและมีทิศทางในการดำเนินงานเดียวกัน องค์ประกอบของโครงการ โครงการมีองค์ประกอบหลักๆ อยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนนำและส่วนโครงการ ซึ่งจะนำเสนอ ดังต่อไปนี้
1. ส่วนนำ ส่วนนำโครงการ เป็นส่วนที่เขียนเพื่อให้เข้าใจว่า โครงการนี้ชื่ออะไร มีลักษณะอย่างไร ใครเป็นผู้รับผิดชอบ และจะดำเนินการเมื่อไร โดยปกติจะอยู่ส่วนต้นของการเขียนโครงการ ประกอบด้วย
1.1 ชื่อโครงการ การเขียนชื่อโครงการควรบอกได้ว่า จะทำอะไร ทำอย่างไร เรื่องอะไร กับใคร นิยมเขียนโดยขึ้นต้นด้วยคำนาม วิธีการ และตามด้วยเรื่องที่จะทำ เช่น “ การประชุมปฏิบัติการเขียนแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2552 ” เป็นต้น
1.2 แผนงบประมาณ เป็นการระบุที่มาของงบประมาณ ว่าโครงการนี้ ขอใช้งบประมาณในแผนใด เช่น “เงินงบประมาณ เงินอุดหนุน เงินนอกงบประมาณ ”
1.3 สนองกลยุทธ์ เพื่อให้ทราบว่า โครงการนี้ดำเนินงานตามกลยุทธ์ข้อใดของหน่วยงาน เช่น “กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาระบบบริหารจัดการของโรสงเรียนให้มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ”
1.4 ผู้รับผิดชอบโครงการ ให้ระบุชื่อ สกุลของผู้รับผิดชอบโครงการ โดยจะระบุตำแหน่งด้วยหรือไม่ก็ได้ เช่น “นางแก้ว กัลยาณี หัวหน้ากลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม”
1.5 หน่วยงานที่รับผิดชอบ ควรระบุ ถึงระดับงาน เช่น “งานแผนงาน โรงเรียนเตรียมอุดม ศึกษาพัฒนาการดอนคลัง”
1.6 ลักษณะของโครงการ โดยทั่วไปจะมี 2 ประเภท ได้แก่
1.6.1 โครงการใหม่ คือโครงการที่จัดทำขึ้นใหม่ ในปีนั้น และสามารถดำเนินการได้เสร็จภายในปีงบประมาณเดียว
1.6.2.โครงการต่อเนื่อง คือโครงการที่มีลักษณะต่อเนื่องจากปีที่แล้วมา อาจเป็นโครงการที่ไม่สามารถ
2. ส่วนโครงการ เป็นส่วนที่กล่าวถึง เนื้อหาของการจัดทำโครงการ ประกอบด้วย
2.1 หลักการและเหตุผล ควรบอกถึงความเป็นมา เหตุผลความจำเป็นที่จะต้องจัดทำโครงการนี้ ซึ่งอาจมาจาก
2.1.1 นโยบายของรัฐ นโยบายของหน่วยเหนือ หรือนโยบายของหน่วยงานเอง
2.1.2 ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2.1.3 สภาพปัญหา
2.1.4 ความต้องการในการพัฒนา ควรเขียนให้กระชับ ไม่เยิ่นเย้อ ประมาณ 15-25 บรรทัด และสามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจและเห็นความสำคัญของการจัดทำโครงการได้ นิยมเขียนโดยภาพกว้างก่อน เช่น นโยบาย หรือปัญหา แล้วจึงลงมา ถึงตัวโครงการ
2.2 วัตถุประสงค์ เป็นหัวข้อที่สำคัญที่สุดของโครงการ ผู้อนุมัติโครงการจะพิจารณาความเหมาะสมของหัวข้อนี้เป็นพิเศษ ต้องเขียนให้ชัดเจนไม่คลุมเครือ มีความเป็นไปได้ วัดได้ เช่น “เพื่อให้คณะครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการดอนคลัง สามารถใช้เครือข่ายสารสนเทศ สำหรับการเรียนการสอนได้”
2.3เป้าหมายปัจจุบันนิยมเขียนโดยระบุปริมาณหรือคุณภาพที่ต้องการขั้นต่ำซึ่งอาจอยู่ในรูปของ จำนวน ร้อยละ หรือระดับคุณภาพ เช่น “จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้เครือข่ายสารสนเทศเพื่อการศึกษา ให้กับคณะครูโรงเรียนบ้านเปียงหลวง จำนวน 20 คน” หรือ “คณะครูโรงเรียน บ้านเปียงหลวง อย่างน้อยร้อยละ 80 สามารถใช้ระบบเครือข่ายในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนได้ในระดับดี” เป็นต้น
2.4 กิจกรรม / ระยะเวลา มีรูปแบบการเขียนหลายแบบ อยู่ที่ว่าผู้เขียนโครงการจะเลือกใช้แบบใด เช่น ตาราง แบ่งเป็นข้อ แต่จะต้องแสดงกิจกรรม ขั้นตอน ระยะเวลา การทำงานตามลำดับ ให้เห็นว่าจะทำกิจกรรมอะไรบ้าง เมื่อไร ผู้รับผิดชอบในแต่ละรายกิจกรรมคือใครไว้อย่างชัดเจน เพราะการเพิ่ม ลด งบประมาณจะพิจารณาเป็นรายกิจกรรม ดังนั้นจึงไม่ควรเขียนขั้นตอนหรือกิจกรรมที่กว้างเกินไป เช่น “1. เสนอโครงการ 2.อนุมัติโครงการ 3.ดำเนินการตามโครงการ 4.สรุปรายงานผล”เพราะการเขียนเช่นนี้จะไม่สามารถพิจารณาได้ว่าโครงการมีกิจกรรมอะไรบ้างเหมาะสมหรือไม่เพียงใด
2.5งบประมาณ ต้องบอกรายละเอียดของการใช้งบประมาณแต่ละรายการให้ชัดเจนถูกต้อง เช่น ค่าห้องประชุม กี่วัน วันละเท่าไร ค่าอาหารว่าง หรืออาหารกลางวัน กี่คน กี่วัน คนละเท่าไร ค่าเอกสารกี่เล่ม เล่มละเท่าไร รวมแล้วทั้งหมดเป็นงบประมาณที่จะขอใช้เท่าใด และต้องแยกรายการงบประมาณให้ถูกต้องตามหมวดค่าใช้จ่ายด้วย ได้แก่
- ค่าตอบแทน เช่น ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าเบี้ยประชุมกรรมการ ค่าอาหารทำการนอกเวลา เป็นต้น
- ค่าใช้สอย เช่น ค่าจ้างเหมาบริการ เช่น อาหารว่าง อาหารกลางวัน ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเช่น เบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ ค่าที่พัก เป็นต้น
- ค่าวัสดุ เช่น วัสดุที่ใช้ในการฝึกอบรม และใช้ในการประชุม เช่น กระดาษ กรรไกร กาว แฟ้มเอกสาร เป็นต้น


2.6 การประเมินผล เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ทราบว่าโครงการประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด องค์ประกอบของการประเมินผล มีดังนี้
- ตัวชี้วัดความสำเร็จ เป็นตัวตอบคำถามว่าจะวัดความสำเร็จของโครงการจากอะไร เช่น จำนวน ร้อยละ หรือเวลา เช่น “ร้อยละของคณะครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการที่สามารถใช้เครือข่ายสารสนเทศได้ในระดับดี” เป็นต้น - วิธีการ ใช้วิธีการใดในการประเมินผลโครงการ เช่น การสำรวจความคิดเห็น การสังเกต การทดสอบ เป็นต้น
- เครื่องมือ เครื่องมือที่ใช้ควรสอดคล้องกับวิธีการ เช่น แบบสอบถามความคิดเห็น แบบสำรวจความพึงพอใจ แบบสังเกต แบบทดสอบ เป็นต้น
2.7 ผลที่คาดว่าจะได้รับ ต้องเขียนให้เห็นว่าจากการทำโครงการนี้จะมีผลประโยชน์ใดเกิดขึ้นบ้าง อาจเป็นผลในเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ หรือผลลัพธ์ก็ได้ เช่น “เมื่อคณะครูโรงเรียนบ้านเปียงหลวงใช้เครือข่ายสารสนเทศในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนแล้วจะสามารถยกระดับคุณภาพของผู้เรียนให้สูงขึ้นได้”ลักษณะของโครงการที่ดี
1. ต้องสอดคล้องและสนองต่อแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน
2. กระชับ ไม่เยิ่นเย้อควรอยู่ระหว่าง 3-7 หน้า
3. ใช้ภาษาที่เป็นทางการและเข้าใจได้ง่าย
4. มีความเป็นไปได้
5. วัดและประเมินผลได้
6. มีองค์ประกอบครบถ้วน
7. ใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ
8. คุ้มค่า
9. แก้ไขปัญหาได้จริง
10. สำเร็จตามเวลาที่กำหนดแนวปฏิบัติในการพัฒนาแผนปฏิบัติการของโรงเรียนเพื่อให้แผนปฏิบัติการของโรงเรียน เป็นแผนปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพซึ่งมีตัวชี้วัดคุณภาพ ดังนี้1. เป็นแผนปฏิบัติการที่อยู่ในกรอบกลยุทธ์ ที่มั่นใจแล้วว่าจะผลสำเร็จตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียน2. เป็นแผนปฏิบัติการที่ไม่มีจุดอ่อน3.เป็นแผนปฏิบัติการที่มีการพิจารณาอย่างรอบคอบ แล้วว่า จะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนหรือ นำไปสู่การแก้ปัญหา พัฒนาการเรียนการสอนสิ่งที่โรงเรียนต้องการพัฒนา2.1 พัฒนาครู ให้เป็นผู้มีความรู้ และสามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร ( ICT ) , E-Learning และส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข2.2 พัฒนาระบบการจัดการข้อมูล สารสนเทศ การใช้ข้อมูลต่างๆ ที่เอื้อต่อการทำงานของบุคลากร และการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM)2.3 พัฒนาผู้เรียน ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา รู้จักแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนอันจะก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร ( ICT ) , E-Learning2.4 พัฒนาโรงเรียน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ที่ได้มาตรฐานและเหมาะสมต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นที่ยอมรับ ศรัทธา และเป็นต้นแบบของโรงเรียนอื่นและชุมชน2.5 สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ ที่เข้มแข็งของผู้ปกครองและชุมชนโครงการส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน- การพัฒนาการแนะแนวการศึกษา- กิจกรรมชุมนุม- กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารีโครงการบริหารและการจัดการศึกษา- การพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา- การวัดผล ประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน- การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียน- การนิเทศการเรียนการสอน- การรับนักเรียนและจัดทำสำมะโนผู้เรียน- การส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชนและสถานศึกษาอื่น- การพัฒนาศักยภาพครูผู้สอน
สรุปความรู้จากกลุ่มที่ 11
การวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา- เป็นโครงการ การประชุมเชิงปฏิบัติการที่ดี เพื่อครู และผู้บริหารนำแนวทางนี้ ไปพัฒนาการศึกษาระดับศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษา สู่การพัฒนาระดับโรงเรียน
-จากข้อมูลผลการประเมินระดับชาติ และการประเมินระดับเขตพื้นที่ ระดับโรงเรียน ให้นำข้อมูลมาพัฒนา และปรับปรุง ให้เกิดประโยชน์
- ท่านรู้ข้อมูลโรงเรียนของท่านหรือยัง มีข้อมูลจะบอกอะไรบ้างจุดยืน ข้อมูลที่จะให้เรารู้ว่า เราอยู่ตรงไหน อย่างไรจุดเด่น / จุดด้อย ส่วนที่สามารถจะโชว์ แสดง เป็น Best Practiceเป้าหมาย / ทิศทางการพัฒนา / ปรับปรุง สามารถจะกำหนดเป้าหมาย ทิศทาง หรือไปปรับปรุงได้ความคาดหวัง การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนจากข้อมูลพื้นฐาน และข้อมูลการประเมิน
1. ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลผลการประเมินแยกตามวิชา / สาระ ภาพรวม เขตพื้นที่ โรงเรียน นักเรียน
2. ปรับแผน
3. กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ
4. ยกระดับคุณภาพสามารถสร้างมูลค่า เพิ่มในตัวเด็ก พัฒนากลุ่มเด็ก แยกเด็กเป็นกลุ่มเก่ง ปานกลาง และอ่อนการคำนึงถึงผลการประเมินคุณภาพภายนอก จาก สมศ. รางวัลความสำเร็จ เป้าหมายที่สำคัญคือตัวเด็กนักเรียนการจัดการเรียนการสอน -เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ- เน้นอ่านคล่อง เขียนคล่องการวัดผลประเมินผล - เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ- ประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment)การประกันคุณภาพภายใน - คำนึงถึงตัวชี้วัด ตามมาตรฐานการเรียนรู้ - มีการดำเนินการตามระบบ PDCA- SIP (School Implement Plan )-SAR (Self Assessment Report)- CAR ( Classroom Action Research)บทบาทผู้บริหาร- ผู้นำการเปลี่ยนแปลง- ผู้นำการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนบทบาทของครู ในการขับเคลื่อน
1. ศึกษาข้อมูลด้านการเรียนการสอน
2. คุณรู้จักนักเรียนตามระดับคุณภาพ แยกนักเรียน
3. ช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มอ่อน
4. นักเรียนกลุ่มเก่ง พัฒนาสภาพการณ์ปัจจุบันและปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็ก
- ด้านบริหารจัดการ
- ด้านการเรียนการสอน
- ความพร้อมปัจจัยสนับสนุน
- การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

ประวัติบุคคลที่ชื่นชอบ


ประวัติ
หม่อมหลวงปิ่นเกิดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2446 ณ บ้านถนนอัษฎางค์ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนที่ 6 ใน 13 คน ของเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) และท่านผู้หญิงเสงี่ยม พระเสด็จสุเรนทราธิบดี (เสงี่ยม มาลากุล ณ อยุธยา (นามสกุลเดิม วสันตสิงห์)) ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งสิ้น 8 คน ได้แก่

หม่อมหลวงปก มาลากุล
หม่อมหลวงป้อง มาลากุล
หม่อมหลวงเปนศรี มาลากุล
หม่อมหลวงปนศักดิ์ มาลากุล
หม่อมหลวงปอง เทวกุล (สมรสกับหม่อมเจ้าสุรวุฒิประวัติ เทวกุล)
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
หม่อมหลวงเปี่ยมสิน มาลากุล
หม่อมหลวงปานตา วสันตสิงห์ (สมรสกับนายเมืองเริง วสันตสิงห์)
ประวัติการศึกษา
ปี พ.ศ. 2450 เมื่อหม่อมหลวงปิ่นมีอายุได้ 4 ขวบ ท่านได้เริ่มเรียนหนังสือที่บ้านกับครูแฉล้ม (แฉล้ม คุปตารักษ์) ต่อมาได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (ณ สมัยนั้นเป็นโรงเรียนวัดราชบูรณะ) และต่อมาในปี พ.ศ. 2457 หม่อมหลวงปิ่นก็เข้าศึกษาที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง

ในปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นนักเรียนมหาดเล็กในพระบรมมหาราชวัง ไม่ได้เรียนที่โรงเรียนอีก แต่ปลายปีนั้นก็ยังคงมาสอบไล่และสามารถสอบผ่านชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งทำให้เลื่อนไปเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แต่ก็ไม่ได้มาเรียนหรือมาสอบอีกเลย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ได้รับทุนของกระทรวงธรรมการ จึงออกไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ โดยไปเข้าเรียนที่ The School of Oriental and African Studies, University of London (SOAS) หรือวิทยาลัยบูรพศึกษาและอาฟริกาศึกษา มหาวิทยาลัยลอนดอน และได้รับประกาศนียบัตรวิชาภาษาและวรรณคดีบาลีและสันสกฤต แล้วได้ย้ายไปศึกษาต่อที่คณะบูรพคดีศึกษา (Faculty of Oriental Studies) สถาบันตะวันออกของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประสบความสำเร็จโดยได้ปริญญาตรี (B.A.) เกียรตินิยมสาขาบูรพคดีศึกษา (Oriental Studies) วิชาเอกภาษาบาลีและสันสกฤต ในปี พ.ศ. 2471

ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 ได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทจนสำเร็จการศึกษา ได้รับปริญญาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต (M.A.) ระหว่างที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ท่านสังกัดวิทยาลัยบเร๊สโนส (Brasenose College) และในปี พ.ศ. 2498 ท่านก็ได้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นแรก)

รับราชการ
ในปีพ.ศ. 2455 ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กที่พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อมาได้เป็นอาจารย์ประจำกองแบบเรียนกรมวิชาการ อาจารย์พิเศษคณะอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปีพ.ศ. 2474 ในปีพ.ศ. 2475 เป็นอาจารย์โท อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังได้เป็นหัวหน้าแผนกฝึกหัดครูมัธยม คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและรักษาการในตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนมัธยมหอวังในปีพ.ศ. 2477 อีกด้วย

หม่อมหลวงปิ่นได้เป็นอาจารย์เอก อันดับ 1 และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2480 5 ปีต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมสามัญศึกษาอีกตำแหน่งหนึ่งอีกด้วย ในปี พ.ศ. 2487 ท่านได้พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและเป็นที่ปรึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและทำงานในหน้าที่เลขาธิการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในปี พ.ศ. 2489 ท่านดำรงตำแหน่งเป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และในปี พ.ศ. 2495 - พ.ศ. 2496 ท่านได้เป็นรักษาการอธิบดีกรมวิชาการ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2497 ได้เป็นรักษาการอธิบดีกรมการฝึกหัดครู รักษาการอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษา ศาสตราจารย์พิเศษในคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2500 ถึง 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่พ.ศ. 2500 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นเวลายาวนานถึง 12 ปีเศษ

สถาปนามหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล อธิการบดีในขณะนั้น มีนโยบายที่จะเปิดคณะวิชาและสาขาวิชาที่ หลากหลายขึ้น แต่เนื่องจากบริเวณพื้นที่ในวังท่าพระคับแคบมาก ไม่สามารถจะขยายพื้นที่ออกไปได้ จึงได้ขยายเขตการศึกษาไปยังพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม โดยจัดตั้งคณะอักษรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๑๑ คณะศึกษาศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๑๓ และคณะวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๑๕ ตามลำดับ หลังจากนั้น จัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๒๙ คณะวิศวกรรมมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๓๕ สาเหตุที่เลือกพระราชวังสนามจันทร์เป็นที่ตั้งวิทยาเขตแห่งใหม่ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้ให้เหตุผลไว้ดังนี้

ประการแรก พระราชวังสนามจันทร์เคยเป็นพระราชวังของพระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ผู้สนพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่งในทาง โบราณคดีและศิลปะทั้งปวง ทรงเป็นนักโบราณคดีและศิลปินชั้นเยี่ยมโดยเฉพาะ ทาง วรรณศิลป์ ทรงสนับสนุนนาฏศิลป์ตลอดรัชสมัยของพระองค์
ประการที่สอง บริเวณพระราชวังสนามจันทร์เป็นที่ตั้งของเทวาลัยคเณศ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น นอกจากนี้ พระคเณศยังเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปะ และเป็นตราของทางมหาวิทยาลัยศิลปากร อยู่แล้ว
ประการสุดท้าย ที่จังหวัดนครปฐมมีพระปฐมเจดีย์ประดิษฐานอยู่ นับได้ว่าเป็น ศูนย์กลางของโบราณคดีและศิลปะที่สำคัญในประเทศไทย ดังนั้นบริเวณพระราชวัง สนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม จึงเหมาะที่จะเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศิลปากร
การก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลได้ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาขึ้น เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2480 โดยนักเรียนเริ่มเรียนในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2481 โดยมี ฯพณฯ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียน ในปีแรกๆ โรงเรียนได้เจริญขึ้นเป็นลำดับ เช่น ทางด้านวิชาการมีผลเป็นที่น่าพอใจ การสร้างตึก 2 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2482 และต่อมาได้สร้างตึก 3 ไปจนจดถนนอังรีดูนังต์ ในเวลานี้นอกจากผลงานทางด้านวิชาการจะเป็นที่น่าพอใจแล้ว นักเรียนยังได้แสดงความสามารถในการเล่นกีฬาต่างๆ ที่หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลได้นำเข้ามาในโรงเรียน เช่น ฮอกกี้ รักบี้ และฟุตบอล เข้าเกณฑ์ที่กล่าวได้ว่า "เรียนก็เด่น เล่นก็ดี กีฬาเลิศ"

นอกจากนี้หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ยังมีวิสัยทัศน์อันกว้างไกล ในการดำเนินการศึกษา ให้แก่นักเรียนเตรียมอุดมศึกษา ด้วยเล็งเห็นว่า โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนที่มุ่งเตรียมเข้าสู่ระดับอุดมศึกษา จึงจัดสหศึกษาของวัยรุ่นด้วยความรอบคอบระมัดระวัง โดยการเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ ควบคู่คุณธรรมดังที่ท่านเคยกล่าวไว้ว่า


" อันอำนาจใดใดในโลกนี้
ไม่เห็นมีเปรียบปานการศึกษา
สร้างคนหาค่ามิได้ในโลกา
ขึ้นจากผู้ที่หาค่าไม่มีฯ "


" อันตึกงามกับสนามกว้างสร้างขึ้นได้
มีเงินหยิบโยนให้ก็เสร็จสรรพ์
แต่งามจิตใจกว้างนั้นต่างกัน
การอบรมเท่านั้นเป็นปัจจัยฯ "

หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้วางระเบียบและข้อปฏิบัติงานไว้อย่างเหมาะสม นับเป็นประโยชน์แก่การศึกษา เป็นอย่างดียิ่ง เช่น

มีแผนทะเบียนเป้นศูนย์กลางขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการประสานงานฝ่ายวิชาการและ การปกครอง
จัดทำทะเบียนประวัติย่อของนักเรียนที่เข้าเรียนแต่ปีแรก
มีสถิติการเรียนและการสอบต่างๆ บันทึกไว้เพื่อให้ทราบพฤติกรรมของนักเรียน
วางระเบียบให้มีรางวัลคะแนนรวมให้แก่นักเรียนที่ได้คะแนนยอดเยี่ยม
มีการจารึกนามนักเรียนที่ได้คะแนนยอดเยี่ยมไว้ที่แผ่นเกียรติยศการศึกษาเป็นตัวอักษรสีทอง ไว้ในห้องประชุมของโรงเรียน (ปัจจุบันคือห้อง 111 ตึก 2)
นอกจากนี้ท่านยังได้คิดการแข่งขันกีฬา ให้เฉพาะโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเรียกว่า การแข่งขันวิ่งสามสระ เป็นกีฬาที่หญิงชายเล่นร่วมกันได้
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลได้ยื่นใบลาออกจากการเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแก่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อราวเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2487 ดังนี้

ตามที่ได้มาเรียนปติบัติข้อราชการนะโรงเรียนลูกกำพร้าสงครามเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ศกนี้ และพนะท่านได้แสดความเห็นใจว่า ในตำแหน่งอธิบดีกรมสามัญสึกสา ย่อมมีงานที่จะต้องปติบัติอยู่มากแล้ว ให้หาคนแทนในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมสึกสานั้น นับว่าเป็นความกรุณาของพนะท่านเป็นอย่างยิ่ง จึงขอเชื่อและปติบัติตามคำแนะนำของพนะท่านด้วยความเคารพอย่างสูงสุด

ในโอกาสนี้ขอประทานกราบเรียนว่า นับตั้งแต่ พนะท่านได้เรียกไปกะซวงกลาโหม เมื่อวันที่ ๖ มกราคม ๒๔๘๐ เพื่อชี้แจงนโยบาย และมอบหมายให้จัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมสึกสาเป็นต้นมา ก็ได้ตั้งใจ ปติบัติงานอย่างเต็มสติกำลัง และพยายามรักสานโยบายของพนะท่านไว้เป็นนิจ จำนวนนักเรียนทวีขึ้นจาก ๓๕๐ คน ในปีแรก จนถึง ๓,๕๐๐ คนในปัจจุบัน การงานมิได้มีติดขัดประการได จนกระทั่งประเทสเข้าสู่ภาวะสงคราม ซึ่งย่อมมีอุปสรรคเป็นธรรมดา แต่ก็แก้ไขให้ลุล่วงไปได้ ภายใต้การบังคับบัญชาสูงสุดของพนะท่าน และพนะท่านรองอธิการบดี

การเปลี่ยนแปลงตัวผู้อำนวยการนั้น ขอประทานกราบเรียนว่ารู้สึกเป็นห่วงหยู่ไม่น้อย แต่หม่อมเจ้าวงษ์มหิป ชยางกูร ก็เป็นผู้ที่มีความสามารถในการสั่งสอนอบรมนักเรียนเป็นอย่างดี และเป็นอาจารย์ที่ได้หยู่ช่วยเหลือผู้อำนวยการมาเป็นอันมาก ตั้งแต่เริ่มจัดตั้งโรงเรียน จึงเป็นการเหมาะสมที่จะตั้งเป็นผู้อำนวยการต่อไป ดีกว่าเลือกบุคคลซึ่งยังไม่เคยร่วมงานนี้มาแต่ก่อน

ส่วนไนทางไจนั้น รู้สึกมีความอาลัยเป็นอย่างมากในการที่จะไปจากโรงเรียนเตรียมอุดมสึกสา เมื่อมาคำนึงว่า ตลอดเวลา ๖ ปีครึ่ง ที่ทำมานี้ มีตำแหน่งประจำอยู่ทางแผนกฝึกหัดครูคณะอักสรศาสตร์และวิทยาสาสตร์ในชั้นต้น และทางกรมสามัญสึกสาในเวลาต่อมา งานไนโรงเรียนเตรียมอุดมสึกสาเป็นงาน พิเสส ซึ่งมิได้มีตำแหน่งเงินเดือนหรือเงินเพิ่มพิเสสแต่อย่างใด แต่ก็ได้ทำมาด้วยความรักและการเสียสละไนทุกทาง เพราะเป็นงานชิ้นแรกที่พนะท่านมอบหมายให้ทำด้วยความไว้วางไจ และได้มีโอกาสสร้างครูอาจารย์ที่เข้มแข็งยิ่งขึ้นเป็นจำนวนร้อย และอบรมกล่อมเกลานักเรียนจำนวนพัน ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นกำลังแก่ประเทศชาติไนภายหน้าได้ ก็บังเกิดความพากพูมไจและความสุขไจ ซึ่งเป็นรางวัลที่พนะท่านได้ให้มาในทางอ้อม… จึงค่อยปลดเปลื้องความอาลัยให้บรรเทาลงได้บ้าง


ชีวิตสมรส
ด้านชีวิตครอบครัว หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้สมรสกับ ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล ณ อยุธยา (นามสกุลเดิม ไกรฤกษ์) ธิดา เจ้าพระยามหิธร ( ลออ ไกรฤกษ์ ) และ ท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร ( สกุลเดิม บางยี่ขัน ) แต่ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน

บั้นปลายชีวิต
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2538 สิริอายุได้ 91 ปี 11 เดือน 11 วัน และเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ท่านได้รับการประกาศเชิดชูเกียรติจากองค์การยูเนสโกยกย่องท่านเป็น "นักการศึกษาดีเด่นของโลก ในสาขาวรรณกรรมและสื่อสาร" ถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวเตรียมอุดมทุกคน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา อันเชิญรูปปั้น ฯพณฯ ศ.หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล จากหอวชิราวุธานุสรณ์ มาประดิษฐาน ห้อง 57 ตึก 1 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2545

ในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2546 เป็นวาระครบรอบ 100 ปีของ ฯพณฯ ศ. ม.ล. ปิ่น มาลากุล โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาจึงดำริที่จะจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระคุณของท่าน นับแต่นี้ต่อไปก็จะมีเพียงการสานต่อแนวความคิดของ ฯพณฯ ให้ปรากฏเป็นผลสมเจตจำนง อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อประโยชน์ของเยาวชน และสังคมไทยตลอดไป

ประวัติส่วนตัว

ใบงานที่ ๖

ให้นักศึกษาศึกษาวัฒนธรรมองค์กรจากเอกสารและในInternet แล้วแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังนี้
1.ความหมายวัฒนธรรมองค์กร คืออะไร
วัฒนธรรมองค์กร หมายถึง "พฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิต สร้างขึ้นด้วยกัน เรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน" และยังมีนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศหลายท่านได้ให้ความหมายของวัฒนธรรมองค์กร

2.ทำไมหากเราไปเป็นครูสอนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เราควรจะศึกษาอะไรบ้างที่จะทำให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
การเรียนรู้ธรรมชาติและวิถีชีวิตของบุคคลในท้องถิ่นนั้น เพื่อที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆ พยายามหาข้อมูลของชุมชนให้มากที่สุด และสร้างความสัมพันธ์อันดีกับบุคคลในชุมชน หาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการมีส่วนร่วมกับชุมชน

3.รูปแบบวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมเกิดขึ้นได้อย่างไร
สมาชิกต้องยอมรับในเรื่องของการทำงานเป็นทีม และพร้อมที่จะไปในทิศทาง เดียวกัน โดยลักษณะการทำงานแบบไม่ยึดติดระบบอาวุโสทางความคิด แต่ทั้งนี้ยังต้องมีการรักษาสิทธิ์ และเคารพสิทธิ์ของทีมงาน แต่การทำงานเป็นทีมต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ขององค์กร และที่คนส่วนใหญ่ได้รับ ดังนั้นสมาชิกในทีมงานต้องปรับความเข้าใจให้ตรงกัน วางแผนการทำงานร่วมกัน และต้องมีความผูกพันกันในการนำไปสู่เป้าหมายของทีม โดยสมาชิกทุกคนต้องมีความคิดร่วมกัน ว่าจะ ทำอะไร ทำอย่างไร มีการรับทราบภาระหน้าที่ของทุกคนโดยให้คำนึงว่าตัวเราเป็นส่วนหนึ่งของทีมงาน และต้องไม่ไปก้าวก่าย ความรับผิดชอบ ของสมาชิกในทีม แต่ในขณะเดียวกันแม้สมาชิกในทีมขาดหายไปเราเองสามารถที่จะช่วยเหลือหรือทำแทนกันได้ สิ่งที่จะช่วยให้การทำงาน เป็นที่บรรลุผลได้อีกประการหนึ่ง คือการสร้างบรรยากาศของทีมงานให้มีความรู้สึกดีต่อกัน คือมีการยอมรับ ซึ่งกันและกัน เมื่อใดที่พบปัญหาให้หันหน้าเข้าหากัน ปรึกษากันตลอดเวลา ทีมงานควรมีการเสียสละและไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน สมาชิกไม่ควรที่จะนำ ความคิดของตนเองเป็นที่ตั้ง ควรระลึกไว้เสมอว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของทีมงาน ต้องพาทีมงานปฏิบัติภารกิจให้ไป สู่เป้าหมาย หรือแผนที่วางไว้ ทีมงานจึงเป็นหัวใจหลักที่สำคัญซึ่งอาจจัดได้ออกเป็น 4 ประเด็น คือ

1) ต้องมีเป้าหมายเดียวกัน

2) บทบาทความรับผิดชอบของสมาชิกในกลุ่มต้องเข้าใจตรงกัน และไม่คลุมเครือ

3)มีระบบการให้รางวัลค่าตอบแทนเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ

4)มีทักษะที่จำเป็นในการทำงานเป็นทีม กล่าวโดยสรุปได้ว่าการทำงานเป็นทีมคือการไม่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางในการทำงาน แต่ยอมรับฟัง ความคิดเห็นของเพื่อนร่วมทีมเสมอทั้งนี้ให้มีการเสริมจุดแข็งและลบจุดอ่อนของกันและกัน เป็นการที่เรารวมสิ่ง ที่ดีที่สุดของแต่ละคนมาใช้ เพื่อทำภารกิจให้สำเร็จลุล่วง การทำงานเป็นทีมเป็นการนำประสบการณ์และความผูกพันที่ร่วมกันสร้างผ่านการทำงานอันก่อให้เกิดความรัก สามัคคี ทุ่มเท และอุทิศชีวิตร่วมกัน

4.การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร
การเรียนรู้เกิดได้จากหลายๆองค์ประกอบ
- ผู้เรียน ( Learner) มีระบบสัมผัสและ ระบบประสาทในการรับรู้
- สิ่งเร้า ( Stimulus) คือ สถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
- การตอบสนอง (Response) คือ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้
- การสอนด้วยสื่อตามแนวคิดของกาเย่ (Gagne)

- เร้าความสนใจ มีโปรแกรมที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน เช่น ใช้ การ์ตูน หรือ กราฟิกที่ดึงดูดสายตา
- ความอยากรู้อยากเห็นจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียน การตั้งคำถามก็เป็นอีกสิ่งหนึ่ง
- บอกวัตถุประสงค์ ผู้เรียนควรทราบถึงวัตถุประสงค์ ให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียนเพื่อให้ทราบว่าบทเรียนเกี่ยวกับอะไร
- กระตุ้นความจำผู้เรียน สร้างความสัมพันธ์ในการโยงข้อมูลกับความรู้ที่มีอยู่ก่อน เพราะสิ่งนี้สามารถทำให้เกิดความทรงจำในระยะยาวได้เมื่อได้โยงถึงประสบการณ์ผู้เรียน โดยการตั้งคำถาม เกี่ยวกับแนวคิด หรือเนื้อหานั้นๆ
เสนอเนื้อหา ขั้นตอนนี้จะเป็นการอธิบายเนื้อหาให้กับผู้เรียน โดยใช้สื่อชนิดต่างๆ ในรูป กราฟิก หรือ เสียง วิดีโอ
การยกตัวอย่าง การยกตัวอย่างสามารถทำได้โดยยกกรณีศึกษา การเปรียบเทียบ เพื่อให้เข้าใจได้ซาบซึ้ง
การฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดทักษะหรือพฤติกรรม เป็นการวัดความเข้าใจว่าผู้เรียนได้เรียนถูกต้อง เพื่อให้เกิดการอธิบายซ้ำเมื่อรับสิ่งที่ผิด
การให้คำแนะนำเพิ่มเติม เช่น การทำแบบฝึกหัด โดยมีคำแนะนำ
การสอบ เพื่อวัดระดับความเข้าใจ
การนำไปใช้กับงานที่ทำในการทำสื่อควรมี เนื้อหาเพิ่มเติม หรือหัวข้อต่างๆ ที่ควรจะรู้เพิ่มเติม