วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่ ๑

ใบงานครั้งที่ 1
ทฤษฎีและหลักการจัดการบริหารการศึกษา
1. นักศึกษาให้คำนิยาม การบริหาร การบริหารการศึกษา

คำว่า “การบริหาร” สรุปได้ 6 ลักษณะดังนี้
การบริหาร คือ ศิลปะของการทำงานให้สำเร็จโดยใช้บุคคลอื่น
การบริหาร คือ การทำงานของคณะบุคคล ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่ร่วมกันปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน
การบริหาร คือ การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันทำงาน เพื่อจุดประสงค์อย่างเดียวกัน
การบริหาร คือ การจัดกิจกรรมที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันดำเนินการให้บรรลุจุดประสงค์ร่วมกัน
การบริหาร คือ การใช้ศาสตร์และศิลปะนำทรัพยากรการบริหาร (Administrative resource) มาประกอบการตามกระบวนการบริการ( Process of administration ) ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
การบริหาร คือศิลปะในการทำให้สิ่งต่างๆได้รับการกระทำจนเป็นผลสำเร็จ หมายความว่าผู้บริหารไม่ใช่ผู้ปฏิบัติ แต่ใช้ศิลปะทำให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานจนเป็นผลสำเร็จตรงตามจุดหมายขององค์การ หรือตรงตามจุดหมายที่ผู้บริการตัดสินใจเลือกแล้ว

การบริหารการศึกษา คือ กิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมมือกันดำเนินการเพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน ประชาชน หรือสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน เช่น ความสามารถ ทัศนคติ พฤติกรรม ค่านิยม หรือคุณธรรม ทั้งในด้านการสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ เพื่อให้บุคคลดังกล่าวเป็นสมาชิกที่ดีและมีประสิทธิภาพของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ทั้งที่เป็นระเบียบแบบแผน และไม่เป็นระเบียบแบบแผน
จากสรุปของ “การบริหารการศึกษา” หมาถึง ดำเนินงานของกลุ่มบุคคล ซึ่งอาจเป็นการดำเนินงานของครูใหญ่ร่วมกับครูน้อยในโรงเรียน อธิการบดีร่วมกับอาจารย์ในมหาวิทยาลัย กลุ่มบุคคลเหล่านี้ต่างร่วมมือกันพัฒนาคนให้มีคุณภาพทั้งสิ้น การจะพัฒนาคนให้มีคุณภาพได้นั้น จะต้องมีการดำเนินการในการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการวัดผล การจัดอาคารสถานที่และพัสดุครุภัณฑ์การสรรหาบุคคลมาดำเนินการหรือมาทำการสอนในสถาบันการศึกษา การปกครองนักเรียนเพื่อให้นักเรียนเป็นคนดีมีวินัย และอื่นๆ ซึ่งการดำเนินงานเหล่านี้รวมเรียกว่า “ภารกิจทางการบริหารการศึกษา”

2. นักศึกษาอธิบายคำว่าศาสตร์และศิลป ยกตัวอย่างประกอบ
ศาสตร์ หมายถึงความรู้ที่มีพื้นฐานมาจากความเป็นจริง สามารถพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ และเป็นจริงเสมอ ทั้งยังเป็นความรู้ที่ถาวรตลอดไป เช่น พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทาง ทิศตะวันตกเสมอ วัตถุชนิดเดียวกันมีมวลไม่เท่ากันย่อมมีน้ำหนักไม่เท่ากัน
ส่วนศิลปะ หมายถึง ฝีมือ ฝีมือทางการช่าง การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ปรากฏเห็น โดยเฉพาะหมายถึงงานวิจิตรศิลป์ ซึ่งแสดงออกด้วยความคิดและฝีมืออย่างยอดเยี่ยมจนปรากฏออกมาเป็นผลงานที่งดงามและเกิดอารมณ์สะเทือนใจ เช่นการวาดภาพนรกที่เกิดจากความคิดของผู้วาด แต่ในความเป็นจริงไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีอยู่จริง

3. นักศึกษากล่าวสรุปการวิวัฒนาการบริหารอย่างย่อ ๆพอสังเขป
วิวัฒนาการของการบริหารวิวัฒนาการของการบริหาร มีทั้งหมด 4 ยุค แต่ละยุดจะมีการใช้หลัดการและทฤษฎีของบุคคลต่างๆ ที่มีแนวความคิดที่หลากหลายทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
4. นักศึกษาอธิบายทฤษฎีมาสโลว์ ทฤษฎีภาวะผู้นำ ทฤษฎีX ทฤษฎีY
แนวความคิดนี้เป็นของมาสโลว์ (Maslow) ที่ได้อธิบายถึงลำดับความต้องการของมนุษย์ โดยที่ความต้องการจะเป็น ตัวกระตุ้นให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมเพื่อไปสู่ความต้องการนั้น ดังนี้ถ้าเข้าใจความต้องการของมนุษย์ก็สามารถ อธิบายถึงเรื่องแรงจูงใจของมนุษย์ได้เช่นเดียวกัน


ในเรื่องความต้องการ (Need) ของมนุษย์ ถ้าเรามีความเข้าใจเรื่องความต้องการของมนุษย์แล้ว เราจะสามารถเข้าใจ พื้นฐานพฤติกรรมของมนุษย์ได้มากยิ่งขึ้น
ความต้องการของมนุษย์ตามแนวความคิดของมาสโลว์ (Maslow) มาสโลว์ ได้แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ขั้นเรียงตามลำดับ ดังนี้
ขั้นที่ 1 ความต้องการทางกาย (Physiological Needs) คือความต้องการปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต
ขั้นที่ 2 ความต้องการความ มั่นคงปลอดภัย (Safety and Security Needs) คือความต้องการที่จะมีชีวิต ที่มั่นคง ปลอดภัย
ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม (Love and Belonging Needs) มนุษย์เมื่อเข้าไปอยู่ในกลุ่มใดก็ต้องการให้ตนเป็นที่รักและยอมรับในกลุ่มที่ตนอยู่
ขั้นที่ 4 ความต้องการได้ รับการยกย่องจากผู้อื่น (Self -Esteem Needs) เป็นความต้องการในลำดับต่อมา ซึ่งความต้องการในชั้นนี้ถ้าได้รับจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจใจตนเอง
ขึ้นที่ 5 ความต้องการในการเข้าใจและรู้จักตนเอง (Self-Actualization Needs) เป็นความต้องการชั้นสูงของมนุษย์ ซึ่งน้อยคนที่จะประสบได้ถึงขั้นนี้
มาสโลว์ได้กล่าวเน้นว่า ความต้องการต่าง ๆ เหล่านี้ต้องเกิดเป็นลำดับขั้น และจะไม่มีการข้ามขั้น ถ้าขั้นที่ 1 ไม่ได้รับการตอบสนอง ความต้องการในลำดับขั้นที่ 2-5 ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ การตอบสนองที่ได้รับในแต่ละขั้นไม่จำเป็นต้องได้รับทั้ง 100% แต่ต้องได้รับบ้างเพื่อจะได้เป็นบันไดนำไปสู่การพัฒนาความต้องการในระดับที่สูงขึ้นในลำดับขั้นต่อไป
ทฤษฎีภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมได้เสนอแนะว่าแบบแผนภาวะผู้นำในอุดมคตินี้ เป็นแบบแผนที่ให้การยอมรับว่าสิ่งที่บุคคลอื่นให้ความร่วมมือมาจะต้องนำมาพิจารณา ผู้นำเหล่านี้จะส่งเสริมความร่วมมือและการช่วยเหลือจากสมาชิกของกลุ่ม และเพื่อช่วยให้สมาชิกกลุ่มมีความรู้สึกมีความหมายและผูกพันต่อกระบวนการตัดสินใจอย่างไรก็ตาม ผู้นำทฤษฎีความร่วมมือนี้จะเก็บรักษาสิ่งที่ถูกต้องไว้แต่ในขณะเดียวก็อนุญาตให้สมาชิกมีส่วนร่วม
ดักลาส แมคเกรเกอร์ (Douglas McDragor) นักพฤติกรรมศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้แสดง
ทัศนะที่เป็นสสมมุติฐานพื้นบานที่ผู้บริหารทุกคนควรจะมีความรอบรู้และทำความเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1 ทฤษฎีเอ็กซ์ (X) เป็นการแสดงทัศนะสมมมุติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ว่ามักจะมีพฤติกรรมเป็นลบ ดังนี้
- มีความเชื่อว่าไม่ชอบการทำงาน จึงมีการหลีกเลี่ยงงานอยู่เป็นประจำโดยยึดถือแนวความคิดที่จะทำงานให้น้อย ที่สุดเท่าที่จะทำได้

มักขาดความทะเยอทะยาน
ไม่สนใจต่อผลได้เสียขององค์การ
ชอบเอาเปรียบเพื่อนร่วมงาน
ดังนั้น ผู้บริหารที่จะต้องกำกับดูแล โดยใช้เทคนิคดังต่อไปนี้

ผู้บริหารอาจมีท่าทีแข็งกร้าว มีการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด
ผู้บริหารต้องมีทีท่าเด็ดขาดแต่แฝงด้วยความยุติธรรม
บางครั้งการแก้ไขปัยหาดดยวิธีการละมุนละม่อมอาจทำให้การทำงานไม่ได้ผล ผู้
บริหารต้องใช้ความรุนแรงบ้างในบางโอกาส
2 ทฤษฎีวาย (Y) จะมีแนวความคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ด้านบวก ดังนั้นพฤติกรรมของผู้บริหารมักจะมีลักษณะ ดังนี้

ให้อิสระในการทำงาน และให้มีส่วนร่วมในการทำงาน
ให้หลักการจูงใจมากกว่าวิธีการขู่เข็ญบังคับ
ให้การเสริมแรงบวกด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การมอบรางวัลตอบแทนตามความเหมาะสม

5. ทฤษฎีอธิบายมนุษยสัมพันธ์และแรงจูงใจ
ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์เป็นแนวคิดทางการบริหารที่เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1974 มาจนถึง ค.ศ. 1950 พื้นฐานความคิดทางการบริหารกล่าวได้ว่า Elton Mayo เป็นบุคคลแรกที่มำให้แนวความคิดทางการบริหารเปลี่ยนแปลงไป มนุษย์เป็นสังคม มีความต้องการให้ความคิดของตัวเองเป็นจริง เน้นการจูงใจElton Mayo ได้ทำการทดลอง ที่เป็นที่รู้จักในนาม ฮอธอร์น ศึกษาที่โรงงานฮอธอร์น ของบริษัท เวสเทอร์น อิเล็กตริก เริ่มในปี พ.ศ. 1924 – 1927 ผลการศึกษา1. สถานที่ของห้องทำงาน เรื่องของแสงสว่างที่มีมีผลต่อการเพิ่มผลผลิต2. กลุ่มมีผลต่อการปฏิบัติงานของคน3. ระบบสังคมหรือสภาพแวดล้อมในที่ทำงานมีผลกระทบต่อผลงานของคน4. ทัศนคติของพนักงานมีผลต่อการผลิตของงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น