วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ข้อสอบ :ทดลองวิจัยใช้Weblog

ให้นักเรียนตอบข้อสอบลงในWeblog ของนักเรียนแต่ละคน
คำสั่ง ให้นักเรียนทำข้อสอบโดยการแสดงความคิดเห็นสะท้อนข้อคิดพร้อมยกตัวอย่างประกอบในการแสดงความคิดเห็นให้เป็นเหตุเป็นผลของผู้เรียน อาจารย์จะอ่านข้อคิดเห็นที่เป็นเหตุเป็นผลต่อกัน เขียนในWeblog ให้ชวนอ่าน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ข้อที่ 1 กรณีที่เกิดความวุ่ยวายของบ้านเมืองโดยเฉพาะผู้นำประเทศที่ผ่านมา ท่านในฐานะเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะแสดงความคิดเห็น อดีตนายกทักษิณ ทั้งข้อดีและข้อเสียของท่าน หากพิจารณาข้อดีและข้อเสียท่านจะนำมาสอนให้ผู้เรียนเกิดความคิดที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร

ข้อดี
1.อดีตนายกทักษิณมีแนวคิดที่ดี และการแก้ไขปัญหาที่ตรงประเด็น
2.มีวิสัยทัศน์ในการทำงาน
3.ความกล้าที่จะตัดสินใจ
ข้อเสีย
1.การคดโกงในเรื่องโครงการ
2.การทำงานที่ไม่เป็นระบบ

ข้อที่ 2 การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่จะให้มีประสิทธิภาพท่านจะมีวิธีคิดอย่างไรหากท่านเป็นครูที่ดีควรเตรียมการเป็นที่ครูที่ดีอย่างไรให้ท่านแสดงความคิดเห็นของท่านเอง

สิ่งแรกคือครูจะต้องศึกษาหลักสูตร วิเคราะห์หลักสูตร กำหนดเนื้อหาสาระ กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จุดประสงค์การเรียนรู้ปลายทางและนำทางศึกษาหลักการ ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ จิตวิทยาศาสตร์ กระบวนการวัดและประเมินผล
พัฒนาเทคนิคการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ โดยเน้นกระบวนการให้ชื่อว่าเทคนิคการเรียนรู้แบบ จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบกงล้อกงหัน มี 7 ขั้นตอนดังนี้



ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

ขั้นเพียรศึกษาค้นคว้า

ขั้นพัฒนาความรู้และฝึกประสบการณ์

ขั้นสร้างสรรค์องค์ความรู้

ขั้นมุ่งสู่การประเมินผล

ขั้นแยบยลผลสรุป

ขั้นสุดท้ายนำไปใช้ มีการสอดแทรกกิจกรรมฝึกทักษะพื้นฐานการวิจัย และมีรายละเอียดการบูรณาการ สาระการเรียนรู้ทั้งในกลุ่มสาระเดียวกัน และต่างกลุ่มสาระ
เตรียมสื่อประกอบการจัดการเรียนรู้ เช่น ตัวอย่างของจริง ใบความรู้ ชุดฝึกทักษะ กระบวนการคิด การปฏิบัติและการแก้ปัญหา ใบงาน แถบบันทึกเสียง แผ่นโปร่งใส ฯลฯเตรียมเครื่องมือวัดและประเมินผล เช่น แบบทดสอบ แบบประเมินชิ้นงาน แบบประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์ แบบประเมินตนเองเกี่ยวกับการเรียนรู้ แบบประเมินกลุ่มเกี่ยวกับการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ แบบประเมินทักษะการทดลอง ฯลฯ

ขั้นที่สองครูจะเตรียมผู้เรียนให้พร้อมในเรื่อง
ชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้
จุดประกายการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมที่เร้าความสนใจ การระดมความคิด กิจกรรมละลายพฤติกรรม ฯลฯ
แล้วครูจะจัดเตรียมการเรียนการสอนอย่างไร

การจัดกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบ กงล้อกงหันที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญดังนี้


ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ขั้นเพียรศึกษาค้นคว้า
ขั้นพัฒนาความรู้และฝึกประสบการณ์
ขั้นสร้างสรรค์ความรู้
ขั้นมุ่งสู่การประเมินผล
ขั้นแยบยลผลสรุป
ขั้นสุดท้ายนำไปใช้
เป็นการเร้าความสนใจของผู้เรียนก่อนการเรียนรู้ ในการนำเข้าสู่บทเรียน อาจจะนำโดยครูผู้สอน ครูและนักเรียน หรือนักเรียนเป็นผู้นำเข้าสู่บทเรียนลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หรือหลายลักษณะก็ได้ โดยใช้แถบบันทึกเสียง ภาพ ข่าว หนังสือพิมพ์ เกม เพลง ดูวีดีทัศน์หรืออาจจะเป็นการทบทวนความรู้เดิม รูปภาพ คำถาม หรือกิจกรรมอื่น เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้


เป็นขั้นที่ให้ความรู้ใหม่ ที่เชื่อมโยงกับขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เป็นขั้นที่ผู้สอนต้องใช้นวัตกรรมให้เกิดการเรียนรู้ความรู้ใหม่ โดยการใช้ใยความรู้ ใบงาน เอกสารประกอบการเรียน ชุดการเรียน ศูนย์การเรียน วีดีทัศน์ ฝึกทักษะพื้นฐานการวิจัยตั้งแต่การระบุปัญหา การตั้งสมมติฐาน การพิสูจน์ ทดสอบ ทดลอง รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผล


เป็นการฝึกระหว่างสอนในเรื่องที่ได้ศึกษาในขั้นที่ 2 เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ฝึกฝนกระบวนการคิดการแก้ปัญหา โดยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกลุ่ม ได้เรียนรู้จากกัน แลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ความคิดและประสบการณ์แก่กันและกันให้มากที่สุด เป็นการพัฒนาความรู้ความคิดของผู้เรียนให้เกิดแบบยั่งยืน


เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกความคิดรวบยอดในเรื่องที่ได้ศึกษามา โดยการเขียนเป็นข้อสรุปที่เข้าใจง่าย เช่น การเขียนแบบแผนที่ความคิด (Mind Mapping) การเขียนแบบมโนมิติ หรือเขียนสรุปใจความสั้นๆ


เป็นการประเมินระหว่างสอนตามลำดับความยากง่ายของเนื้อหา เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ในเนื้อหานั้นๆ อาจทำได้โดยให้ผู้เรียนตอบคำถามเล่าเรื่องนำเสนอในสิ่งที่สร้างสรรค์ไว้ ในขั้นที่ 4 หรือบันทึกผลการทดลอง หรือใช้วิธีใดวิธีหนึ่งตามความเหมาะสมหรืออาจจะผลตามสภาพจริง (ตนเองประเมิน เพื่อนประเมิน และครูประเมิน)


เป็นการสรุปเนื้อหาความรู้ใหม่ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ อาจจะสรุปโดยผู้เรียนหรือครูผู้สอนหรือครูผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุป อาจจะใช้สื่อช่วยในการสรุป เช่น ใช้ในสรุปเนื้อหา ใช้วีดีทัศน์หรือรูปภาพประกอบการสรุป


เป็นขั้นที่ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ในแหล่งชุมชน การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ทำงานหรือเตรียมบทเรียนต่อไป หรือการประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

ข้อที่ 3 ในฐานะท่านเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะนำนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนมาใช้การเรียนการสอนแบบใหม่ได้อย่างไร
จากการที่กระผมได้เรียนการทำ Webbolg จากอาจารย์ อภิชาติ วัชรพันธุ์ กระผมมีแนวคิดว่าการนันวัตกรรมดังกล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนและเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สามารถนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนอย่างหนึ่งทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และได้พัฒนาทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์ สร้างความกระตือรือร้นในการเรียน และดึงดูดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเป็นช่องทางในการเรียนรู้เพิ่มเติมจากอินเตอร์เน๊ตได้อย่างเหมาะสม เป็นการเปิดโลกทัศน์ที่กว้างมากยิ่งขึ้น โดยการให้ใบงานและให้นักเรียนได้ศึกษาและสรุปงานส่งทางใบงานในเว็บบล็อก
เพราะฉะนั้นการนำนวัตกรรมใหม่มาจัดการเรียนการสอนจะทำให้เกิดพัฒนาการทั้งด้านผู้สอนและผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ได้ย่างเหมาะสม

ข้อที่ 4 การประกันคุณภาพมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการในชั้นเรียนได้อย่างไร

มีความสำคัญมากต่อการจัดการในชั้นเรียนเพราะว่าการบริหารจัดการชั้นเรียนและการเรียนการสอนเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน การบริหารจัดการชั้นเรียนไม่ใช่จุดหมายปลายทางแต่เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของบทบาทความเป็นผู้นำของครู การบริหารจัดการชั้นเรียนไม่สามารถแยกจากหน้าที่การสอน เมื่อการวางแผนการสอนก็คือ การที่ครูกำลังวางแผนการบริหารจัดการชั้นเรียนให้เกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้เป็นไปไม่ได้ที่จะแยกการบริหารจัดการชั้นเรียนกับการทำหน้าที่การจัดการเรียนการสอน รูปแบบการสอนหรือกลยุทธ์ที่ครูเลือกใช้แต่ละรูปแบบก็มีระบบการบริหารจัดการของมันเอง และมีภารกิจเฉพาะของรูปแบบหรือกลยุทธ์นั้น ๆ ที่จะอิทธิพลต่อพฤติกรรมทั้งของครูและนักเรียน เช่น ถ้าครูจะบรรยายก็จำเป็นที่นักเรียนจะต้องมีความตั้งใจฟัง ถ้าจะให้นักเรียนทำงานกลุ่ม วิธีการก็จะแตกต่างจากการทำงานโดยลำพังของแต่ละคนอย่างน้อยที่สุดก็คือการนั่ง ดังนั้นภารกิจการสอนจึงเกี่ยวข้องทั้งปัญหาการจัดลำดับวิธีการสอน ปัญหาของการจัดการในชั้นเรียนปัญหาการจัดนักเรียนให้ปฏิบัติตามกิจกรรม ครูที่วางแผนการบริหารจัดการชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสม ทั้งกิจกรรมการเรียนการสอนและภารกิจ ก็คือ การที่ครูใช้การตัดสินใจอย่างฉลาดทั้งเวลา บรรยากาศทางกายภาพ และจิตวิทยา ซึ่งจะทำให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้และลดปัญหาด้านวินัยของนักเรียนด้วยการที่สามารถจะบริหาร การจัดชั้นเรียนทั้งด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การบริหารจัดการบรรยากาศในห้องเรียน การดูแลพฤติกรรมด้านวินัยให้เกิดการร่วมมือในการเรียนจนเกิดการเรียนรู้ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ระบบการเรียนการสอนให้เด็กมีความรู้เจตคติ ทักษะด้าน 8 กลุ่มสาระ แต่ว่าระบบนี้ระบบเดียวไม่เพียงพอที่ทำให้เรามีคุณภาพตาม 11 มาตรฐาน ต้องอาศัยอีก 2 ระบบสำคัญ ระบบหนึ่งที่ตอบสนองความแตกต่างของเด็กแต่ละคนที่มีความประพฤติ และมีรากฐานครอบครัวที่แตกต่างกัน ตรงนี้โรงเรียนมีระบบอันหนึ่ง คือ ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่จะรู้จักเด็กเป็นรายบุคคลและให้การช่วยเหลือและพัฒนาเด็กไปตามความต้องการของเด็กแต่ละบุคคลโดยครูที่ปรึกษา ถ้ามีปัญหาจะส่งต่อครูปกครอง ครูแนะแนว นี่ถือว่าเป็นระบบใหญ่ที่สำคัญและถือว่าเป็นระบบหลักระบบที่สอง

ระบบที่ 3 คือ ระบบที่ตอบสนองต่อ Multiple intelligence (พหุปัญญา) คือ เด็กแต่ละคนมีความสามารถที่หลากหลาย ย่อมไม่สามารถที่จะตอบสนองได้โดยการเรียนการสอนใน 8 กลุ่มสาระเท่านั้น เพราะฉะนั้นระบบกิจกรรมนักเรียนจะตอบสนองให้นักเรียนพัฒนาพหุปัญญาได้ไปตามความสนใจของแต่ละคน รวมทั้งตอบสนองความต้องการของชุมชน ในชนบทที่.งไกล หลายแห่ง โรงเรียนไม่ใช่แหล่งที่จะหมายถึง แหล่งที่ให้การศึกษาต่อในขั้นที่สูงขึ้นเท่านั้น แต่อาจจะเป็นสถาบันที่ดำรงรักษาวัฒนธรรมและความอยู่รอดของชุมชนด้วย เพราะฉะนั้นระบบกิจกรรมจะต้องตอบสนองตามความสนใจที่หลากหลายของนักเรียนตลอดจนความต้องการของชุมชน
ส่วนระบบสนับสนุนนั้นจะเห็นว่าจะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ หนึ่งทิศทางองค์กร สองการบริหารจัดการทั่วไป สามเป็นระบบที่เชื่อมโยงโรงเรียนทุกระบบเข้าด้วยกัน

ส่วนที่ 1 ประกอบด้วยการนำองค์กรและยุทธศาสตร์องค์กร โรงเรียนหลายโรงเรียนที่ทำโครงการแล้วอาจไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เริ่มต้นอาจจะเกิดปัญหา คือ การนำของผู้อำนวยการ และผู้บริหารโรงเรียน แล้วยุทธศาสตร์โรงเรียนไม่มีความมั่นคงเพียงพอจะทำให้โรงเรียนเกิดการพัฒนาคุณภาพได้

ส่วนที่ 2 การบริหารจัดการนำไปซึ่งแบ่งเป็น 4 ระบบย่อย คือ 1) คือระบบบริหารจัดการคือ ดูแลเรื่องเงิน คน ของ สถานที่ และสื่อ 2) ระบบการดูแลคุณธรรมจริยธรรมวิชาชีพ การศึกษานั้นเป็นผลิตสิ่งที่สำคัญ คือ มนุษย์ให้เขาเป็นบุคคลที่มีคุณค่าแก่สังคมเรื่องนี้ต้องมีระบบในการให้ผู้ที่ทำการบริหารและทำการจัดการเรียนการสอนคงไว้ซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมแห่งวิชาชีพให้เต็มที่ เช่นเดียวกับวิชาชีพอื่นๆ เช่น แพทย์ เป็นต้น 3) เราต้องมีระบบการพัฒนาบุคลากร เนื่องจากโรงเรียนอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะฉะนั้นการพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพจะทำให้ ระบบประสบความสำเร็จได้ 4) ระบบชุมชนสัมพันธ์ที่จะให้โรงเรียนสามารถดึงความร่วมมือผู้ปกครองชุมชนตลอดจนศิษย์เก่าได้

ส่วนที่ 3 ของระบบ คือ ระบบสารสนเทศ เป็นระบบที่จะเชื่อมโยงทุกระบบเข้าด้วยกันว่าเราอยู่ตรงไหนของการพัฒนา ปัญหาเราคืออะไร และเราจะพัฒนาอะไรต่อไป โรงเรียนมีระบบสารสนเทศที่ดีจะมีคำตอบเหล่านี้อยู่ในโรงเรียน
เราเคยมีโรงเรียนชั้นนำของมัธยมศึกษาเกิดปัญหาเด็กฆ่าตัวตาย เด็กทำร้ายกันเอง สะท้อนให้เห็นว่า แม้โรงเรียนนั้นจะมีการเรียนการสอนที่มีคุณภาพแต่มีจุดอ่อนที่ระบบดูแลช่วยเหลือเด็ก จะเห็นได้ว่าถ้าระบบใดระบบหนึ่งมีจุดอ่อนจะเกิดปัญหาได้ ถ้าระบบการเรียนการสอนดี ระบบช่วยเหลือนักเรียนดี แต่ไม่มีระบบกิจกรรมนักเรียนที่ดีพอเด็กกลับบ้านเลิกเรียน 3 โมงครึ่ง นักเรียนกลับบ้านอย่างเดียวแทนที่จะให้เด็กใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ที่จะได้ทำตามกิจกรรมตามความสนใจของตนเองเด็กจำนวนมากก็แทนที่จะกลับบ้านก็ไปศูนย์การค้าดูหนังเล่นเกม ไปอยู่ในสถานที่ที่ไม่เหมาะสมหรือขาดโอกาสในการพัฒนาพหุปัญญาขึ้นมา เพราะฉะนั้นต้องใช้ระบบกิจกรรมที่แข็งด้วย

เพราะฉะนั้นแนวคิดเชิงระบบกล่าวในที่นี้แปลว่า โรงเรียนที่มีคุณภาพต้องดีทุกระบบ อันนี้กลับมาตอบข้อสงสัยของหลายท่านว่า ทำไมการประเมินเพื่อรองรับจึงเป็น All all non ก็คือ ท่านจะต้องผ่านทุกๆ มาตรฐานของแต่ละระบบคุณภาพ ไม่มียกเว้นเพราะแนวคิดเชิงระบบนั้น ถ้าระบบใดระบบหนึ่งมีปัญหาอาจจะส่งผลให้ระบบและคุณภาพของโรงเรียนนั้นเกิดปัญหาได้

ข้อที่ 5 ให้ผู้เรียนประเมินผู้สอนทั้งข้อดีข้อเสียและข้อเสนอแนะเพื่อที่จะนำไปปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป
การประเมิณผู้สอน : อาจารย์อภิชาต วัชรพันธุ์
คะแนนเต็ม 10 ได้ 9 เนื่องจาก ผู้สอนได้นำการเรียนรู้แบบใหม่ให้กับนักศึกษา ที่เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพในการเรียนการสอนและส่งผลดีต่อการเรียรู้ ผู้เรียนได้อย่างดีเยี่ยม แต่ยังมีส่วนที่ต้องปรับปรุงอีกเล็กน้อยคือ การใช้ระบบอินเตร์เน๊ตและปัญหาที่ผู้เรียนบ้างคนยังขาดสื่อในการเรียนรู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น